ไหว

.•*''*•..♥ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger โดยนางสาวอังคณา ไพรเพ็ชศักดิ์ คบ.2 สังคมศึกษา หมู่ 3 รหัส 544110092 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ♥.•*''*•.

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนที่ 5
การออกแบบการเรียนการสอน


การออกแบบ
                เป็นการประดิษฐ์หรือวางแผนงานสำหรับงานที่มีจุดมุ่งหมายแน่นอนการออกแบบสำหรับงานที่มีหน้าที่ใช้สอยโดยเฉพาะ
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
                การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
                การออกแบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ
ความสำคัญของการออกแบบ
                สุพัฒน์  ระงับพิษ กล่าวถึง ความสำคัญของการออกแบบว่าถ้าการออกแบบ
สามารถแก้ไขปัญหาของเราได้ การออกแบบจึงมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของเราทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และทัศนคติ กล่าวคือ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต
ของเรา เช่น
                1. การวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม และประหยัดและประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ
การวาง แผนการทำงานที่ดี
                2. การนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน
                3. สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงานงานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อนผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
                4. แบบ จะมีความสำคัญมากถ้าผู้ออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิตเป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้างนักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของเรา
คุณค่าทางทัศนคติ
                คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางทัศนคติ เน้นการสร้างทัศนคต อย่างใด
อย่างหนึ่งต่อผู้พบเห็น เช่น อนุสาวรีย์สร้างทัศนคติให้รักชาติ กล้าหาญ หรือทำความดี
งานจิตรกรรมหรือประติมากรรมบางรูปแบบอาจจะ แสดงความกดขี่ ขูดรีดเพื่อเน้นการระลึกถึงทัศนคติที่ดีและถูกควรในสังคม เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้จากการออกแบบ
                1.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด
                2.  เพื่อประโยชน์ใช้สอยตามสภาพ
                3.  เพื่อยกระดับให้ชิ้นงานผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมีความหรู และความงามเฉพาะตัว
                4.  เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีระดับและได้มาตรฐานเหมาะสมกับราคา
                5.  เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน
องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
                การออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)เนื่องจากมีรูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)
รูปแบบดั้งเดิม (Generic model)
                1. การวิเคราะห์ (Analysis)
                2. การออกแบบ (Design)
                3. การพัฒนา (Development)
                4. การนำไปใช้ (Implementation)
                5. การประเมินผล (Evaluation)
                จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ตามความเชื่อความต้องการของตน

รูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน
                รูปแบบการสอน (Model) ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ
                1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goals)
                2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis)
                3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify Entry Behaviors, Characteristics)
                4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write Performance Objective)
                5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion - Referenced Test Items)
                6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (Develop Instructional Strategies)
                7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials)
                8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design and Conduct Formative Evaluation)
                9. การปรับปรุงการสอน (Revise Instruction)
                10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน (Design and Conduct Summative E valuation)
ทฤษฎี​​​​​ การออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​ (Instructional System Design : ISD)
                                1. การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ (Analysis) ใน​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เด็นต่าง​​​​​ ​​​​​ๆ
                                2. การออกแบบ (Design) คือ​​​​​ ​​​​​การออกแบบ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละ
บท​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แต่ละสัปดาห์​​​​​ เน้นการพัฒนา​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ครบ​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​ 3 ด้าน​​​​​ ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ด้านสติปัญญา​​​​​ (Cognitive)
ด้านทักษะ​​​​​ (Psychomotor) และ​​​​​​​​​ด้านลักษณะนิสัย​​​​​ (Affective)
                                3. การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การนำ​​​​​​​​​สิ่งที่คิด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​
ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​
                                4. การนำ​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้ (Implementation) คือ​​​​​ ​​​​​ขั้นตอนการนำ​​​​​​​​​แผนการสอนที่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​วิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ ​​​​​
ออกแบบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​พัฒนา​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​สอนจริง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​พยายามดำ​​​​​​​​​เนินการตามแผนการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ระบบการ
เรียนการสอนที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้
                5. การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ (Evaluation) กระบวนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลการสอน ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ขั้นตอนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลเพื่อ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การตัดสิน​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​ (เพื่อตัดเกรด) คือ​​​​​ ​​​​​การสอบระหว่างเรียน​​​​​ ​​​​​การสอบปลายภาค​​​​​ ​​​​​การตรวจผลงาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​โครงการที่มอบหมาย ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุง​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะ​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การประ​​​​​​​​​เมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียง​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​มีข้อบกพร่อง​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​แก้​​​​​​​​​ไขปรับปรุง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใด​​​​​ แต่กระบวนการดังกล่าว​​​​​ ​​​​​อาจทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ค่อนข้างยาก และ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทุ่มเทเวลา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​อย่างมาก